ระบบเคมีบำบัดสระว่ายน้ำ มี3 ระบบ
1. ระบบคลอรีนบำบัด เป็นระบบฆ่าเชื้อที่นิยมกันมาก เพราะมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำพอสมควร แต่คลอรีนเป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดังนั้นการเติมคลอรีน ควรเติมในเวลาช่วงเย็น หลังจากที่ใช้สระว่ายน้ำเสร็จแล้ว และควรเปิดระบบกรองไว้ 3-4 ชั่วโมง
คลอรีน มีหน้าที่ดูแลให้น้ำใส ไม่มีเชื้อโรค และป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำในสระว่ายน้ำ ที่ใช้โดยทั่วไปในสระสำเร็จรูป จะเป็นคอลรีน 60% เพราะจะไม่ไปทำลายผ้าไวนิล ส่วนสระว่ายน้ำโดยทั่วไปนั้นจะใช้คลอรีน 90% ค่าความเข้มข้นจะเป็น 0.8-1.0 PPM วันที่ฝนตกบ่อย , มีคนเล่นน้ำมาก หรือวันที่มีแดดจัด อาจจะเติมคลอรีนบำบัดน้ำเพิ่มได้ และควรเติมช่วงเวลาตอนเย็น
คุณสมัติของเคมี
สารสร้างความเสถียรให้กับคลอรีน (กรดไซยานูริก) เป็นสารสร้างความเสถียรให้กับคลอรีนที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อรักษา ระดับคลอรีน ให้มีความเหมาะสม คลอรีนไม่เสถียรส่วนใหญ่จะถูกทำลายด้วยรังสีUV จากแสงแดดภายใน 2 ชั่วโมง สารสร้างความเสถียรให้กับคลอรีน จะต้องรักษาให้อยู่ที่ระหว่าง 40-100PPM
ไนเตรด ไนเตรดทำให้เกิดความต้องการปริมาณคลอรีนในระดับสูง และจะทำหน้าที่ลดปริมาณคลอรีนในสระว่ายน้ำ บางครั้งอาจจะลดระดับคลอรีนมาจนถึง 0 เลยก็ได้
คลอรีนอิสระที่มี ความกระด้างของแคลเซียม ค่าความเป็นกรด-ด่าง การสร้างความเสถียรให้กับคลอรีน(กรดไซยานูริก) ภาวะความเป็นด่างรวม
1.0-3.0 ppm 200-300 ppm 7.2-7.8 40-60 ppm(นาที) 100-120 ppm
2.0-3.0 ppm 150-200 ppm 7.2-7.8 40-60 ppm(นาที) 80-120 ppm
โลหะ โลหะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความสูญเสียคลอรีน โลหะยังทำให้สระว่ายน้ำเกิดคราบสนิมและคราบอื่นๆอีกด้วย
คลอราไมน์ คลอราไมนไม่ควรเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำ เมื่อวัสดุอินทรีย์รวมกับคลอรีนอิสระ ก็จะเกิด ครอราไมน์ขึ้น มันทำให้ประสิทธิภาพของคลอรีนในสระว่ายน้ำลดลง และยังทำให้คลอรีนไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ คลอราไมน์ยังมีฤิทธิ์ทำให้น้ำในสระว่ายน้ำขุ่น และเป็นอันตรายต่อดวงตา (ซูเปอร์คลอรีเนต(ช็อค)สามารถใช้ขจัดครอราไมน์ตอนเริ่มต้นทำสระว่ายน้ำได้ )
ภาวะความเป็นกรด-ด่าง(pH) ในสระว่ายน้ำนอกจากยังสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แล้ว ยังส่งผลต่ออุปกรณ์ต่างๆอีกด้วย หากน้ำเป็นกรด อุปกรณ์ต่างๆจะมีปัญหา แต่หากเป็นด่างมากไปก็จะทำให้น้ำขุ่น เนื่องจากแร่ธาตุต่างๆในสระว่ายน้ำจะตกตะกอน และยังไปส่งผลทำให้กระเบื้องบุ สระสกปรกไปด้วย ค่าpH ที่ดีนั่นควรจะอยู่ในระดับ7.2-7.8 ซึ่งมีระบุที่เครื่องสร้างคลอรีน ถือว่าค่านี้เป็นค่าที่อยู่ในระดับกลาง ปลอดภัยต่อการใช้สระว่ายน้ำ
2. ระบบเกลือ เป็นระบบควบคุมความสะอาดของน้ำด้วยการใช้เกลือ โดยวิธีการนั้นจะอาศัยเครื่องฟอกน้ำ บรรจุเกลือ ที่มีสมรรถนะสูง เรียกว่า Salt-Chlorinator หรือเครื่องแปลงเกลือ เป็นคลอรีน สามารถรักษาคุณภาพของน้ำให้สะอาดเหมือนน้ำในทะเล (แต่ค่าความเค็มมีน้อยกว่าทะเล 10 เท่า) เกลือจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวหนัง ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
เกลือชนิดใดที่ควรใช้
ยิ่งเกลือมีความบริสุทธิ์มากเท่าใด ยิ่งมีอายุการใช้งานนานเท่านั้น รวมถึงประสิทธิภาพในการแยกสารไฟฟ้าของอุปกรณ์ก็จะลดลงไปด้วย ให้ใช้เกลือที่มีความบริสุทธิ์ของ NaCl (โซเดียมคลอไรด์) อย่างน้อย 99.8% ให้เลือกใช้เกลือทำอาหารแบบเม็ดที่ระเหยได้และไม่ผสมไอโอดีน หลีกเลี่ยงการใช้เกลือที่เป็นตัวทำปฏิกิริยากันการจับตัวเป็นก้อน (โซเดียมเฟอร์โรไซนาไนด์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ YPS หรือ Yellow Prussiate of Soda) ซึ่งอาจทำให้บริเวณสระว่ายน้ำและสีของน้ำมีการเปลี่ยนสีไปได้บ้าง
3. ระบบโอโซน เป็นระบบการนำเอาก๊าซโอโซน ซึ่งผลิดจากเครื่องอักอากาศ มาบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำ มีประสิทธิภาพสูงสามารถฆ่าเชื้อโรคในระยะเวลาอันสั้นกว่าแบบระบบบำบัดแบบอื่น และไม่มีสารเคมีทุกชนิดตกค้าง
คุณประโยชน์ที่ได้รับ
- ฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ และสารปนเปื้อนเร็วกว่าวิธีการของระบบอื่นๆ
- เป็นตัวทำปฏิกิริยาที่แรงที่สุด ไม่ระคายเคืองตา ผิวหนังหรือเส้นผม
- ทำให้น้ำใสสระอาด
- ยืดอายุการใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์ และป้องกันการเกิดตะกรัน
- ทำให้น้ำมีค่าpHเป็นกลาง ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเคมีบำรุงรักษา
- กำจัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา
- โอโซนฆ่าเชื้อโรคดีกว่าคลอรีน152% และเร็วกว่า 3,125 เท่า
- ไม่มีปัญหาจากสารตกค้างหลังฆ่าเชื้อโรค โอโซนจะกลับเป็นออกซิเจน ไม่เกิดสารตกค้างจากคลอรีน
- โอโซน ฆ่าเชื้อโรค ที่คลอรีนไม่สามารถฆ่าได้ เช่นไวรัส ,เชื้อไจอาเดีย,เชื้ออิโคไล,เชื้อครีพโตสปอริเดีย ฯลฯ
- โอโซน ช่วยลดการใช้คลอรีนได้มากถึง 80-90% และลดอัตราเสี่ยงจากโรคมะเร็ง